“เทศกาลบะจ่าง” ไหว้อย่างไร ใช้ธูปกี่ดอก ต้องเตรียมอะไรบ้าง

เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของลูกหลานชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลไหว้บะจ่าง

เทศกาลไหว้บะจ่าง หรือที่เรียกว่า “เทศกาลตวนอู่เจี๋ย” หรือ “เทศกาลตวงโหงว” เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลตรงกับ วันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน (จันทรคติ) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566

เป็นวันแห่งการระลึกถึง “ชวีหยวน” กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ ซึ่งเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ จนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน

แต่ถูกกลั่นแกล้งจนทำให้โดนเนรเทศจากแคว้นฉู่ ก่อนจะโดนศัตรูยกทัพมายึดเมืองได้สำเร็จซึ่งท้ายที่สุดเขาทุกข์ใจอย่างมากจนตัดสินใจกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย เพื่อช่วยชีวิตเขาชาวบ้านจึงนำเรือออกไปในแม่น้ำและโยนอาหารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปลามาแทะร่าง

อย่างไรก็ตามในวันครบรอบวันตายของชวีหยวนทุกๆ ปี ซึ่งตรงกับ วันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน ชาวบ้านจะโยนอาหารเป็นเครื่องเซ่น และทำต่อมาเรื่อยๆ จนพัฒนาการโยนอาหารลงไปในแม่น้ำให้เป็นบะจ่างในที่สุด และตกแต่งเรือให้เป็นรูปมังกรเพื่อป้องกันสัตว์น้ำไม่ให้มากินอีกด้วย ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ฝันเห็นชวีหยวน จนกลายเป็น “ประเพณีไหว้บะจ่างและประเพณีการแข่งเรือสืบต่อกันมา”

"วันไหว้บะจ่าง 2566" ตรงกับวันไหน ทำไมชาวไทยเชื้อสายจีนต้องไหว้

ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566 วันหยุดราชการ-ธนาคาร วันไหนบ้าง

บะจ่างขนมหน้าร้อนที่เชื่อว่าทำให้มีความอยู่ดี

ในช่วงเดือน 5 ของจีน ยังตรงกับฤดูร้อน การไหว้ด้วยขนมบะจ่างอาจเหมาะสมที่สุด เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน อาหารมักเก็บได้ไม่นาน เน่าเสียง่าย แต่บะจ่างที่ทำจากข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น

ทั้งนี้ การไหว้ด้วยขนมบะจ่างในช่วงฤดูร้อน มีความเชื่อว่าจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ

การไหว้บะจ่าง

เทศกาลไหว้บะจ่าง นิยมไหว้ในตอนเช้า โดยไหว้ด้วย ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก การไหว้ด้วยธูป 5 ดอกนั้น เพื่อระลึกถึงครูบาอาจารย์ พ่อแม่ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้เข้าหลัก 5 ธาตุ หรือ โหงวเฮ้ง ของจีน ประกอบด้วย ธาตุดิน ทอง น้ำ ไม้ และไฟ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวกับวิถีชีวิตโดยตรงคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ในเมืองจีนยังคงความขลังตามประเพณีดั้งเดิมอยู่ โดยเขาจะเอาของไปไหว้ที่ริมแม่น้ำแล้วโยนบะจ่างลงไป แต่ถ้าเป็นการไหว้ในไทย ช่วงเช้าจะไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษตามปกติ แต่เพิ่มเติมบะจ่างเข้ามาด้วย

โดยในวันดังกล่าว ทุกคนอาจเตรียม บะจ่างเป็นเลขคู่ เช่น 2 ลูก 4 ลูก 6 ลูก หรือ 8 ลูกก็ได้ (เนื่องจากคนจีนเชื่อว่า เลขคี่เป็นพลังหยาง วันที่ 5 เดือน 5 เท่ากับพลังหยางซ้อนกัน จึงต้องมีพลังหยินจากเลขคู่ มาเพื่อสร้างสมดุลกัน) พร้อมกับ น้ำชา 5 ถ้วย และ ผลไม้มงคล 5 อย่าง มาตั้งโต๊ะไหว้ ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ลแดง สาลี่ แก้วมังกร และกล้วยหอม

จะเห็นได้ว่าจากตำนานเล่าขาน ได้กลายมาเป็นประเพณีที่เป็นจุดเริ่มต้นของขนมแสนอร่อยที่หลายคนรู้จักกัน ในวันสำคัญนี้จึงเปรียบเสมือนช่วงเวลาแห่งการระลึกถึงขุนนางผู้ซื่อสัตย์และบรรพบุรุษที่ได้มอบความรัก ความหวังดี และการทำคุณประโยชน์ให้เรามีอยู่ถึงทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก : กองคลัง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และ หนังสือจีนนานมี

เทศกาลไหว้บะจ่าง เป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของลูกหลานชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลไหว้บะจ่าง หรือที่เรียกว่า “เทศกาลตวนอู่เจี๋ย” หรือ “เทศกาลตวงโหงว” เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลตรงกับ วันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน (จันทรคติ) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566 เป็นวันแห่งการระลึกถึง “ชวีหยวน” กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ ซึ่งเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์ จนเป็นที่รักใคร่ของประชาชน แต่ถูกกลั่นแกล้งจนทำให้โดนเนรเทศจากแคว้นฉู่ ก่อนจะโดนศัตรูยกทัพมายึดเมืองได้สำเร็จซึ่งท้ายที่สุดเขาทุกข์ใจอย่างมากจนตัดสินใจกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย เพื่อช่วยชีวิตเขาชาวบ้านจึงนำเรือออกไปในแม่น้ำและโยนอาหารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปลามาแทะร่าง อย่างไรก็ตามในวันครบรอบวันตายของชวีหยวนทุกๆ ปี ซึ่งตรงกับ วันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจีน ชาวบ้านจะโยนอาหารเป็นเครื่องเซ่น และทำต่อมาเรื่อยๆ จนพัฒนาการโยนอาหารลงไปในแม่น้ำให้เป็นบะจ่างในที่สุด และตกแต่งเรือให้เป็นรูปมังกรเพื่อป้องกันสัตว์น้ำไม่ให้มากินอีกด้วย ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านที่ฝันเห็นชวีหยวน จนกลายเป็น “ประเพณีไหว้บะจ่างและประเพณีการแข่งเรือสืบต่อกันมา” "วันไหว้บะจ่าง 2566" ตรงกับวันไหน ทำไมชาวไทยเชื้อสายจีนต้องไหว้ ปฏิทินวันหยุดเดือนพฤษภาคม 2566…